ต้อหิน ( Glaucoma )
คำนิยามของต้อหิน ( Difinition )
ต้อหินเป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากความดันตา ( Intraoccular pressure ) สูงขึ้นจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและการทำลายขั้วประสาทตา ( optic head nerve ) ทำให้มีการสูญเสียของลานสายตา ( visual field defect )
ความดันลูกตา ( Intraocular pressure หรือ IOP )
ความดันลูกตาที่ปกติ คือความดันลูกตาที่อยู่ในช่วงซึ่งไม่ทำให้เกิดการทำลายของขั้วประสาทตา ค่าความดันลูกตาปกติของคนทั่ว ๆ ไปเท่ากับ 10 – 20 มม.ปรอท
Aqueous humor
คือน้ำในลูกตาซึ่งสร้างโดย อิพิธีเลี่ยม ( Epithelium ) ของซิเลียรีโปรเซส ( Cillary process ) จากนั้นจะไหลจากช่องหลังม่านตา ( posterior chamber ) ผ่านรูม่านตาไปยังช่องหน้าม่านตา
( anterior chamber ) แล้วผ่าน trabercular meshwork ตรงมุมตาเข้าสู่ Schlemm , s canal จนกระทั่งเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตทาง aqueous vein
ค่าความดันลูกตาขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ
1. อัตราการสร้างน้ำเอเควียส ( aqueous production )
2. แรงต้านการไหลออกของน้ำเอเควียส ( resistance to aqueous outflow )
3. ระดับของความดันหลอดเลือด episcleral (episcleral venous pressure )
สาเหตุส่วนใหญ่ของการมีความดันลูกตาสูง มักจะมาจาก มีการเพิ่มแรงต้านการไหลออ
ของน้ำเอเควียส มีรบ้างที่เกิดจาก ระดับของความดันหลอดเลือด episcleral สูงขึ้น และพบน้อยมากที่เกิดจาก อัตราการสร้างน้ำเอเควียส มากเกินไป
การตรวจ ( methods of examination )
1. การวัดความดันตา ( tonometry )
1.1 Identation tonometry เครื่องมือที่นิยมใช้ส่วนใหญ่เป็น Schiotz tonometer
1.2 Applanation tonometer เทคนิคการวัดหยอดยาชาและย้อมสีกระจกตาด้วยน้ำยา fluorescein
2. การตรวจลานสายตา ( perimetry )
3. การตรวจมุมม่านตา ( gonioscopy )
4. การตรวจจอประสาทตา ( ophthalmoscopy )
5. Provocative test
ชนิดของต้อหิน ( classification of the glaucoma )
1. ต้อหินปฐมภูมิ ( Primary glaucoma ) หมายถึงต้อหินซึ่งไม่มีโรคทางร่างกายเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ความดันลูกตาเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น
ก. ต้อหินมุมปิดปฐมภูมิ ( Primary closure angle glaucoma ) PCAG ต้อหินมุมปิด เกิดจาก iris root เบนมาปิดหน้า trabecular meshwork ทำให้ aqueous humor ไหลออกจากตาไม่ได้ อาการและอาการแสดงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะของโรค
( 1 ) Subacute ( intermittent ) closure angle glaucoma เกิดจาก iris root เบนมาปิดหน้า trabecular meshwork เพียงบางส่วน ทำให้การไหลเวียนของ aqueous humor ออกไม่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และมุมนี้อาจเปิดได้เมื่อเข้าไปในที่ที่มีแสงสว่างหรือนอนหลับ
อาการและอาการแสดง
- ปวดตาและปวดศีรษะเล็กน้อย
- มีอาการตามัวเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ อาการจะหายไปในวันรุ่งขึ้น
- ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อหายจากการปวดตาตาแดงแล้ว ความดันตามักปกติ ขนาดของ
รูม่านตาปกติ ยกเว้นจะพบว่าช่องลูกตาส่วนหน้าจะตื้นมาก ถ้าเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งอาจตรวจพบ peripheral anterior synechia เป็นหย่อม ๆ ต่อไปอาจเกิดต้อหินมุมปิดเรื้อรังได้
( 2 ) ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ( acute closure angle glaucoma ) ACAG ต้อหินชนิดนี้เป็นภาวะเร่งด่วนทางตาโรคหนึ่ง หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องสายตาอาจเสียได้ ในที่สุดตาจะบอดได้เนื่องจากต้อหินชนิดนี้ iris root เบนมาปิดหน้า trabecular meshwork โดยรอบ 360 องศา aqueous humor ไหลออกจากตาไม่ได้ ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ปวดศีรษะอย่างเฉียบพลันและรุนแรง
อาการและอาการแสดง
- ปวดตา และศีรษะข้างที่เป็น ปวดลึก ๆ ( severe and deep pain ) อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ร่วมด้วย
- ตามัวลงมากเนื่องจากมีน้ำเข้าไปแทรกอยู่ในชั้นกระจกตา ( corneal edema ) ผู้ป่วยจะมีอาการเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ
- ตาแดง
- รูม่านตาขยาย ตรวจพบช่องหน้าลูกตาตื้น
- เลนส์อาจพบมีต้อกระจกแบบ anterior subcapsular cataract
- การตรวจขั้วประสาทตาในระยะนี้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- ความดันตามักจะสูงมาก อาจจะสูงถึง 60 – 80 มม.ปรอท
สาเหตุของการเกิดพยาธิสภาพ
- ปัจจัยเกี่ยวกับกายวิภาค ( anatomical factors )
- ปัจจัยในระบบสรีระวิทยาของการไหลเวียนของ aqueous humor
- ปัจจัยที่ทำให้รูม่านตาขยาย
ก. ต้อหินมุมเปิดปฐมภูมิ ( Primary open angle glaucoma ) POAG เป็นต้อหินชนิดเรื้อรัง โดยโรคดำเนินไปอย่างช้า ๆ ไม่มีอาการเจ็บปวดบริเวณตา มักเป็นทั้ง 2 ข้าง โดยในระยะแรกไม่มีอาการผิดปกติ ต่อมาระยะหลังเมื่อโรคดำเนินไปมาก ประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อย ๆ ทำให้ลานสายตาแคบลง และสายตาอาจผิดปกติ ผู้ป่วยจึงสังเกต และมาพบแพทย์ ถ้ามาช้าเกินไปตาอาจบอดสนิทได้
ผู้ที่มีความเสี่ยง ( high risk )
- พันธุกรรม
- ผู้ที่มีความดันตาสูงกว่า 21 มม.ปรอท
- เบาหวาน
- สายตาสั้น
2. ต้อหินทุติยภูมิภูมิ ( Secondary glaucoma )
หมายถึง ต้อหินที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดปกติภายในลูกตา หรืออาจจะเกิดภายนอกลูกตา ประกอบด้วย
ก. ต้อหินที่เกิดจากเลนส์ ( Disorder of lens )
- ต้อหินที่เกิดจากขนาดของเลนส์ ( phacomophic glaucoma )
- Phycolytic glaucoma ต้อหินที่เกิดในคนที่ป็นต้อกระจกระยะ hypermature
- Phacoanaphylactic glaucoma เป็น autoimmune reaction ต่อโปรตีน
- เลนส์หลุด ( lens dislocation )
ข. ต้อหินเกิดจากโรคของยูเวีย ( disease of uveal tract )
ค. ต้อหินที่เกิดจากอุบัติเหตุต่อลูกตา ( ocular trauma )
ง. ต้อหินที่เกิดจากก้อนเนื้องอก ( ocular tumors )
จ. ต้อหินจากการใช้คอร์ติโคสตีรอยด์ ( Steroid induced glaucoma )
ฉ. ต้อหินที่เกิดจากมีการเพิ่มความดัน episcleral vein ( increase intrascleral venous pressure )
ช. ต้อหินที่เกิดจากความผิดปกติของจอประสาทตา วิเทรียส คอรอยด์
ซ. ต้อหินเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดตา ( following ocular surgery )
3. ต้อหินแต่กำเนิด ( congenital glaucoma )
ก. ต้อหินแต่กำเนิดปฐมภูมิ ( primary congenital or infantile glaucoma )
ข. ต้อหินเกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ แต่กำเนิด (glaucoma associated with congenital anomalies )
การรักษาต้อหิน ( management of the glaucoma )
1. การรักษาด้วยยา ( medical treatment )
2. การรักษาด้วย Laser ( laser treatment )
- laser iridotomy
- Argon laser trabeculoplasty
- Laser iridoplasty
- Laser cyclophotocoagulation
3. การรักษาด้วยการผ่าตัด
ก. Peripheral iridectomy
ข. Filltering operation
- Iridencleisis
- Posterior lip sclerectomy
- Sclero-corneal trephine
- Trabeculectomy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น