ต้อเนื้อ
ต้อเนื้อเป็นโรคของส่วนที่เป็นเยื่อบุตา ( Conjunctiva ) มีลักษณะเป็นแผ่นนูนรูปสามเหลี่ยม เมื่อมีการอักเสบจะมีสีแดงคล้ายแผ่นเนื้อติดอยู่ จึงเรียกต้อเนื้อ ภาษากรีก Pterygrium มีความหมายว่าคล้ายปีกนก มักเกิดด้านหัวตา
สาเหตุ
เกิดจากลม แสงแดด ฝุ่นหรือความร้อนนาน ๆ ทำให้เยื่อบุตา เกิดการเสื่อมและหนาตัวขึ้น จึงพบมากในคนทำงานกลางแจ้งหรือถูกลม แดด ฝุ่น หรือ ความร้อนเป็นประจำเช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง
อาการและอาการแสดง
โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกมีอาการผิดปกติแต่อย่างใด นอกจากบางครั้งมีอาการอักเสบจะมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง มีอาการปวดตาเล็กน้อย บางรายเมื่อเป็นนาน ๆ ต้อเนื้อจะยื่นเข้าไปถึงกระจกตาดำ ทำให้บังแสงเข้าตา มีอาการตามัว มองเห็นไม่ถนัด สายตาเอียง กลอกตาได้ไม่เต็มที่ การตรวจพบจะเห็นแผ่นเหนือสามเหลี่ยมสีเหลือง ๆ ที่บริเวณตาขาวชิดกับกระจกตาดำ ส่วนมากพบที่หัวตามากกว่าหางตา
ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดมีดังนี้
1. ต้อเนื้อเป็นมาก
2. ต้อเนื้อทำให้สายตาแย่ลง
3. ต้อเนื้อทำให้ตากลอกไปมาไม่ได้
4. เมื่อต้องการผ่าตัดลูกตา แล้วต้อเนื้อมาบังการผ่าตัด
5. เมื่อต้องการให้ดูสวยงาม
6. มีการเกิดใหม่ของต้ออีก ( Rcurrence )
การผ่าตัดมีหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีอัตราการเกิดซ้ำ เทคนิคที่มีการใช้กันมากได้แก่
1. Excision การผ่าตัดลอกต้อเนื้อออกจากกระจกตาดำให้หมด โดยเฉพาะส่วนปลายสุด แล้วตัดปลาย
ทิ้ง เลาะเอาเยื่อบุตาขาวด้านบนและล่าง แล้วเย็บเข้าหากัน โดยทิ้งเป็นช่องว่างของตาขาวไว้ เรียกวิธีนี้ว่า bare sclera method หลังผ่าตัดออกจะเป็นซ้ำได้ 30-40 %
2. Transplantation เมื่อลอกตัวต้อเนื้อออกจากกระจกตาดำแล้ว พยายามเลาะถอยไปด้านหลังพอสมควร
หลังจากนั้นเบี่ยงหัวต้อเนื้อ ซุกลงด้านล่าง หรือด้านบนเย็บติดกับตาขาว แล้วเอาเยื่อบุตาขาวมาคลุมเอาไว้
3. Excision with graft เมื่อลอกต้อเนื้อออกจากกระจกตาดำแล้ว ตัดส่วนปลายออกมากพอสมควร
แล้วนำเนื้อเยื่อมาปะ ( graft ) ส่วนที่เป็นช่องว่างของตาขาว แบ่งตามประเภทของเนื้อเยื่อที่นำมาใช้ ดังนี้
- การปลูกถ่ายเยื่อบุตาในคนเดียวกัน ( Excision with conjunctiva graft ) โดยการนำเอาส่วนบน
ของ conjunctiva ของผู้ป่วยมาปะบริเวณที่ลอกต้อเนื้อออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น