โรคต้อกระจก

  ต้อกระจก ( Cataract )
             นิยาม
              เป็นการเกิดความขุ่นของแก้วตาไม่ว่าที่ตำแหน่งไหน หรือจากสาเหตุใดก็ตาม เนื่องจากลำแสงที่มาสู่ตา จะต้องผ่านช่องม่านตา และเลนส์เข้าสู่เรติน่า ดังนั้นเมื่อเลนส์ที่ตรงกับช่องม่านตาขุ่น ก็จะทำให้การมองเห็นมัวลงทีละน้อยโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ตามปกติในตอนแรกการขุ่นยังไม่เต็มที่ ต่อไปการเสื่อมของเลนส์เป็นมากขึ้น จนทึบไปหมดเรียก ต้อกระจก

                                   รูปแสดง เลนส์ปกติ    รูปแสดงเลนส์ที่เป็นต้อกระจก
    พยาธิสภาพของโรค
        ต้อกระจกเป็นได้ทุกเพศทุกวัยและจากหลายสาเหตุ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
    1. ต้อกระจกแต่กำเนิด ( congenital cataract ) เป็นได้ในทารกแรกเกิดหรือภายในอายุ 3 เดือนแรก อาจมีสาเหตุมาจากในระยะแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ได้รับรังสีเอ็กซ์ ยาปฏิชีวนะบางตัว เป็นต้น
    2. ต้อกระจกที่พบภายหลัง ( acquired cataract ) ได้แก่
Age – relate cataract c แบ่งเป็น
      - Juvenile cataract เกิดขึ้นหลัง 3 เดือนจนถึงวัยรุ่น
      - Presenile cataract เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป
Traumatic cataract เกิดจากได้รับอุบัติเหตุที่ตา เช่น การกระแทก สิ่งแปลกปลอมเข้าตาเป็นต้น
Diabetic cataract ต้อกระจกที่เกิดจากระดับความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด
Hypocalcemic cataract เกิดจากภาวะการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมในร่างกาย
Toxic cataract ต้อกระจกที่เกิดจากได้รับยาบางชนิด เช่น ยาหดรูม่านตา ยาพวกคอร์ติโคสเตียรอยด์
Complicateed cataract เป็นต้อกระจกที่เกิดขึ้นในตา ได้แก่ ยูเวียอักเสบเรื้อรัง ต้อหิน


           ผู้ป่วยต้อกระจกมักให้ประวัติว่า ตามัวเหมือนมีหมอกบัง อาจมองเห็นภาพซ้อน มองชัดในที่สลัว
  แต่อยู่ในที่แสงจ้าการมองเห็นลดลง    บางรายเคยใช้แว่นตาอ่านหนังสือกลับสามารถอ่านได้โดยไม่ ต้องใช้แว่น

การรักษา
1. การรักษาทางยาโดยใช้ยาหยอด ซึ่งผลยังไม่เป็นที่แน่นอน
2. การทำผ่าตัด เป็นการรักษาที่ได้ผลแน่นอน

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
1. การมองเห็นลดลงจนขัดขวางต่อการประกอบอาชีพของผู้ป่วย
2. เกิดภาวะแทรกซ้อนจากต้อกระจก ได้แก่ ต้อหิน ยูเวียอักเสบ
3. เพื่อสามารถตรวจดูจอประสาทตา ในการติดตามผลการรักษาโรคต้อหิน
4. เพื่อสามารถตรวจดูจอประสาทตา ในการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ หรือการผ่าตัด
จอประสาทตา
5. ในผู้ที่เป็นต้อกระจกข้างเดียว

    การผ่าตัดต้อกระจก
            1. Intra Capsular Cataract Extraction ( ICCE )เป็นการผ่าตัดแก้วตาออกหมด รวมทั้งแคปซูล แผลผ่าตัดยาวประมาณ 10 – 12 ม.ม. หลังผ่าตัดต้องนอนราบศีรษะนิ่ง 1 – 2 วัน หลังผ่าตัดต้องสวมแว่นตาที่มีกำลังขยายสูง ทำให้การมองเห็นแคบลง ภาพขยายมากขึ้น  จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
      ข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัด ICCE
  - Reduced visual function คือการมองเห็นมัวลงจนไม่สามารถใช้สายตาในการประกอบอาชีพหรือการทำกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ
  - Medication indication คือมีภาวะแทรกซ้อนของต้อกระจก เช่น การละลายของแก้วตา ทำให้เกิด Phacolytic glaucoma การบวมของแก้วตา ทำให้เกิด Phacomorphic glaucoma การขุ่นของแก้วตาจนแพทย์ไม่สามารถเห็น Fundus ได้ ซึ่งบางกรณีจะต้องรีบให้การรักษาโดยด่วน นอกจากนี้ในกรณีที่มี Dislocation หรือ Subluxation ของแก้วตา แล้วเกิดต้อหินแทรกซ้อนขึ้น( Angle block หรือ Pupillary

     2.Extra Capsular Cataract Extraction ( ECCE ) เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออกโดยเหลือ
แคปซูลส่วนหลังเอาไว้ แผลผ่าตัดยาวประมาณ 10 – 12 ม.ม. เพียงพอสำหรับการเอานิวเคลียสของ
แก้วตาออก แคปซูลส่วนหลังที่เหลือไว้ สามารถกันไม่ให้น้ำวุ้นลูกตาไหลมาส่วนหน้าของลูกตาและ
รองรับแก้วตาเทียม

    3. Needing and Aspiration หมายถึง การดูดต้อกระจกที่นุ่มออก คล้ายการผ่าตัดแบบ ECCE
เนื่องจาก Nucleus ไม่แข็ง ซึ่งมักทำในผู้ป่วยอายุน้อย จึงต่างจาก ECCE คือไม่ต้อง Remove nucleus ไม่เปิดแผลกว้าง โดยหลังจากใช้ Cystotome เข้าไปกรีด Anterior capsule แล้วเจาะเข้า A/C ขนาดพอให้เข็ม Irrigate Simcoe เข้าไปล้างเศษ Cortex ได้

    4. Phacoemulcification เป็นการนำคลื่นเสียงความถี่สูงมาช่วยในการผ่าตัด ซึ่งเครื่องมือมีลักษณะคล้ายปลายปากกาเข้าไปส่งคลื่นเสียงความถี่สูงสลายแก้วตา พร้อมทั้งดูดออกมาเหลือไว้เพียงแคปซูลส่วนหลัง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 3 – 6 ม.ม. การเย็บแผลอาจเย็บเพียงเข็มเดียวหรือไม่เย็บ
เลย ทำให้ภาวะแทรกซ้อนจากสายตาเอียงหลังผ่าตัดเกิดขึ้นน้อย การตกเลือด การอักเสบมีน้อย บาดแผลขนาดเล็กทำให้แผลแข็งแรง


                 รูปภาพแสดง การใช้ เครื่อง Phacoemulcification ในการผ่าตัดต้อกระจก

          Intra Ocular Lens Implantation
        ปัจจุบันการแก้ไขความผิดปกติ ของสายตาหลังการผ่าตัดต้อกระจก มี 3 วิธี
      1.การใช้แว่น ซึ่งมีข้อดีที่ราคาถูก ดูแลรักษาสะดวก ประหยัด ปลอดภัย แต่มีข้อเสียในแง่ของคุณภาพการมองเห็น ผู้ป่วยต้องใช้ระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนในการปรับตัว และไม่สามารถใช้ในผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดต้อกระจกที่ทำข้างเดียว ( Monocular cataract ) เพราะภาพที่เห็นใน 2 ตา จะไม่เท่ากัน ( Aniseikonia )
      2.การใช้เลนส์สัมผัส ( Contact lens ) ให้คุณภาพการมองเห็นที่ดีกว่า ใกล้เคียงธรรมชาติ คือ สามารถลดการขยายของภาพเหมือนเหลือเพียง 7 – 12 % แต่ราคาแพง อาจมีผลแทรกซ้อนทำให้เกิดแผลบนกระจกตาได้ และต้องอาศัยความชำนาญในการถอดใส่เลนส์สัมผัส
    3.การใช้แก้วตาเทียม Intra Ocular Lens ( IOL) คุณภาพการมองเห็นจะใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด



                                           การใส่เลนส์แก้วตาเทียม


ข้อบ่งชี้ในการทำ IOL Implantation
  1. ผู้ป่วยอายุมาก
  2.เป็นต้อกระจกข้างเดียว แต่สายตาอีกข้างหนึ่งดี และต้องการเห็นภาพแบบสามมิติ
  3. มี Macula degeneration ซึ่ง IOL จะช่วยให้สามารถใช้ลานสายตาที่เหลือได้ดีขึ้น
ข้อห้ามในการใส่ IOL
  1. ผู้ป่วยที่มีตาดีเหลือเพียงข้างเดียว
  2. อายุน้อย โดยทั่วไป อายุต่ำกว่า 40 ปี
  3. ผู้ป่วยที่เป็น Congenital cataract โดยเฉพาะ Rubella cataract
  4. มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตา เนื่องจากโรคเบาหวาน
  5. สายตาสั้นมากกว่า 7 diopters เพราะผู้ป่วยเหล่านี้หลังผ่าตัดใส่แว่น Lens นูนอีกไม่มากก็เห็นชัด
  6. โรคทางตาที่คุมไม่ได้ เช่น Chronic uvitis
  7. มี corneal endothelium ไม่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น